การเลือกเรื่อง
1.เรื่องที่เลือกมาสอนต้องเป็นเรื่องที่เด็กสามารถมีกิจกรรมและมีส่วนร่วมกับเรื่องได้ดี โดยเฉพาะในช่วงที่ครูจะเล่าเรื่อง เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและอยากติดตาม
2.เนื้อเรื่องควรเป็นเนื้อเรื่องที่ครูชอบและคิดว่าเด็กชอบ รวมทั้งอาจเนเรื่องที่อยู่ในความสนใจในขณะนั้น
3.มีความยาวเหมาะกับเวลาที่สอน ควรให้จบในชั่วโมงนั้นๆ เพราะถ้ายาวมากจะทำให้เด็กเบื่อได้ ควรเลือกเรื่องที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากนิทานได้มากที่สุด
4.ควรเลือกเรื่องที่ครูสามารถเล่าได้ดี
การเตรียมตัวก่อนการเล่า1.ต้องกระตุ้นอารมณ์ให้เด็กอยากทำในสิ่งที่ครูเล่าให้ได้มากที่สุด
2.พยายามให้เด็กได้ใล้ชิดกับครูมากที่สุดเพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในการเล่าและฟังนิทานของครูและเด็ก
3.ลองจัดที่นั่งให้เด็กใหม่ หรือให้เด็กลงนั่งที่พื้นล้อมรอบตัวครูก็ได้ เพื่อสร้างบรรยากาศแปลกใหม่และพิเศษ
4.หาอุปกรณ์ที่ดึงดูดให้เด็กสนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชั่วโมงนั้น เช่น นำตุ๊กตามาสมมติเป็นตัวละคร หรือการนำเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องมาใส่ในขณะที่เล่า
5.นำเพลงที่ใช้ประกอบเนื้อเรื่องมาเปิด เพื่อใช้เสียงเพลงกระตุ้นความรู้สึกของเด็ก
6.ในชั่งโมงที่มีการเล่าให้เขียนบนกระดานว่า Story time ทุกครั้ง เพื่อให้เด็กรับทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น 7.นำอุปกรณ์ที่ครูนำมาประกอบเล่านิทานให้เด็กดูก่อนเริ่มเล่า เพื่อดึงดูดความสนใจและอาจเปิดโอกาสสอนคำศัพท์ของปอุปกรณ์แต่ละชิ้นไปด้วย
วิธีการเล่านิทาน
1.พูดคุยกับเด็กในหัวข้อที่เกี่ยวกับนิทาน อจเป็นประสบการณ์ของครูเองหรือของเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นการเล่าสู่นิทานที่ดี
2.ให้เริ่มด้วยการบอกเด็กเป็นประโยคภาษาอังกฤษ เช่น I'm going to tell you a story about ...
3.เริ่มด้วยประโยค Onece upon a time ที่แปลว่า กาลครั้งหนึ่ง เพื่อเด็กจะสามารถจัดรูปแบบการเล่านิทานจากครูได้โดยไม่ต้องสอน
4.ก่อนเริ่มกิจกรรมการเล่านิทานให้เตรียมเด็กให้พร้อมเสียก่อน เมื่อเริ่มเล่าแล้วจะได้เล่าต่อไปเรื่อยๆ จนจบให้มีอารมณ์ต่อเนื่องไม่ติดขัด
สิ่งที่ครูควรทำ1.เล่านิทานด้วยความเป็นตัวของตัวเองเพื่อให้เด็กรู้สึกท่าทางการเล่าเป็นไปโดยธรรมชาติ ควรมีการเตรียมการซ้อมมาก่อน เพื่อกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
2.ใช้นำเสียงให้เหมาะกับเนื้อเรื่องและอารมณ์ของตัวละครที่สวมบทบาทอยู่ มีการใช้เสียงสูง ตำ เป็นจังหวะ โดยเมื่อถึงจุดสำคัญของเรื่องควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วรร่วมเป็นการตั้งคำถามเป็นภาษาอังกฤษในขณะที่เด็กกำลังอยู่ในอารมณ์ร่วมอยู่ โดยอาจใบ้เป็นท่าทางตามเรื่องเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานมากขึ้น
3.ควรใช้ท่าทางและสีหน้าประกอบการเล่า และพยายามให้เด็กมีโอกาส ทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวโดยอาจให้เด็กทำท่าทางตามตัวละครในเนื้อเรื่อง โดยมีครูเป็นผู้ออกเสียง พูดประโยคตามท่าทางนั้นอย่างช้าๆ เพื่อให้เด็กจำท่าทางและสำเนียงของภาษาพร้อมกับเพลิดเพลิน นอกจากนี้นักเรียนยังเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา ทำให้การเรียนรู้สนุกยิ่งขึ้น
4.ไม่ต้องอ่านเร็วเพราะภาษาในหนังสือค่อนข้างสั้น อาจทำให้เด็กเข้าใจยาก และครูอาจอ่านนิทานเพลินจนลืมให้เด็กที่นั่งฟังมีส่วนร่วม
5.ครูควรเตรียมคำศัพท์และวลีที่สำคัญที่คิดว่าเด็กสนใจ โดยครูอาจเตรียมท่องจำประโยคมาล่วงหน้า และสอดแทรกประโยคเพิ่มเติมตามสถานการณ์ขณะเล่า และจำไว้ว่าต้องเล่าอย่างมีชีวิตชีวา ให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นนิทานของเด็กทุกคนในห้อง
Reference ::
สุมิตรา อังวัฒนกุล, แนวคิดและเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น